วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

Laos

Laos

ธงชาติ
ธงนี้มีชื่อเรียกในภาษาลาวว่า ธงดวงเดือน ได้รับการออกแบบขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย มหาสิลา   วีระวงส์ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของชาวลาว
สีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว
สีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ
พระจันทร์สีขาว เป็นสัญลักษณ์ของดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง และหมายถึงเอกภาพของชาติภายใต้การปกครองของรัฐบาลพรรคประชาชนปฏิวัติลาว (พรรคคอมมิวนิสต์ลาว) หรือหมายถึงการกลับมารวมกันอีกครั้งของชาวลาวสองฝั่งโขง
ตราแผ่นดิน



เครื่องหมายชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นรูปวงกลม ด้านล่างมีรูปครึ่งกงจักรเป็นฟันเฟืองและโบว์อักษร "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" สองข้างล้อมด้วยรวงข้าวสุกเป็นรูปวงพระจันทร์และโบว์สีแดงเขียนอักษร "สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวรระหว่างกลางของสองปลายรวงข้าวมีรูปพระธาตุหลวง อยู่กลางรูปวงกลมมีหนทาง ทุ่งนา ป่าไม้ และเขื่อนไฟฟ้าน้ำตก"





ชื่อทางการ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People's Democratic Republic)
ที่ตั้ง

เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพรมแดนติดจีนและพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก 
พื้นที่
236,800 ตารางกิโลเมตร (ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย) แบ่งเป็น 16 แขวง และ 1 เขตปกครองพิเศษ (นครหลวงเวียงจันทน์)
เมืองหลวง 

นครเวียงจันทน์ (Vientiane) (เป็นเขตเมืองหลวงเหมือน กทม. ส่วนแขวงเวียงจันทน์เป็นอีกแขวงหนึ่งที่อยู่ติดกับนครหลวงเวียงจันทน์) 



การแต่งกาย
ผู้หญิงลาวนุ่งผ้าซิ่น และใส่เสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากล หรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ด คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย









อาหาร
สลัดหลวงพระบาง หน้าตาดูจะคล้ายกับสลัดผักน้ำ มีเพียงผักบางรายการที่เพิ่มเข้ามา และถั่วลิสงคั่วโรยตอนสุดท้าย  ลักษณะของผักน้ำ ลำต้นขนาดเล็กยาว แต่อวบเพราะเลี้ยงอยู่ในแม่น้ำ เวลาเคี้ยวจะรู้สึกถึง
ความกรอบของผัก พบเห็นได้ตามตลาดเช้า








ดอกไม้
ดอก Champa หรือ ดอกลีลาวดี เป็นดอกไม้ประจำชาติ และเป็นสัญลักษณ์ของประเทศลาว มีกลิ่นหอม และมีหลายสี เช่น สีแดง สีเหลือง สีชมพู และโทนสีอ่อนต่างๆ ดอก Champa เป็นตัวแทนของความจริงใจ และความสุขในชีวิต จึงนิยมใช้ประดับในพิธีต่างๆ หรือทำเป็นพวงมาลัยเพื่อต้อนรับแขก ดอก Champa บานทุกวัน และอยู่ได้นาน จึงมักปลูกอย่างแพร่หลาย และเห็นได้ชัดเจนโดยเฉพาะในบริเวณวัด




ภาษา
ภาษาลาวเป็นภาษาราชการ 
ศาสนา
ร้อยละ 75 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 16-17 นับถือผี ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ (ประมาณ 100,000 คน) และอิสลาม (ประมาณ 300 คน)
สกุลเงิน

กีบ (Kip) อัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท : 276 กีบ (พฤษภาคม 2551)
ระบอบการปกครอง

ระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยพรรคการเมืองเดียวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ คือพรรคประชาชนปฏิวัติลาว มีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยม เมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518
ประมุข-ประธานประเทศ
คือ พลโท จูมมะลี ไชยะสอน (8 มิถุนายน พ.ศ. 2549)
หัวหน้ารัฐบาล-นายกรัฐมนตรี 
คือ นายบัวสอน บุบผาวัน (8 มิถุนายน พ.ศ. 2549)

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

Indonesia

Indonesia



ธงชาติ
ธงชาติอินโดนีเซีย หรือ ซังเมราห์ปูติห์ (อินโดนีเซีย: Sang Merah Putih, สีแดง-ขาว)เป็นธงที่มีต้นแบบมาจากธงประจำอาณาจักรมัชปาหิตในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน ครึ่งบนสีแดง หมายถึงความกล้าหาญและอิสรภาพ ครึ่งล่างสีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ยุติธรรม ธงนี้มึความคล้ายคลึงกับธงชาติโปแลนด์และธงชาติสิงคโปร์ และเหมือนกับธงชาติโมนาโกเกือบทุกประการ แต่ต่างกันที่สัดส่วนธงเท่านั้น ธงฉานอินโดนีเซียซึ่งธงผืนนี้ใช้โดยกองทัพเรืออินโดนีเซีย จากภาพธงนี้ชักขึ้นที่เสาธงฉานหน้าหัวเรือรบธงผืนนี้มีลักษณะเป็นธงลายแถบแดงและขาว9แถบ. ธงนี้มีชื่อว่า Ular-ular Perang (ธงผู้บังคับการเรือ หรือ litterally "ธงหางจระเข้") มีลักษณะเป็นธงแถบสองแถบ ซึ่งความยาวของธงนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการประจำการของเรือลำนั้นๆ ธงฉานอินโดนีเซียมีต้นกำเนิดจากอาณาจักรมัชปาหิต โดยธงใช้เป็นธงเรืออันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรมัชปาหิต, ปัจจุบันนี้ใช้เป็นธงฉาน ชักขึ้นที่หน้าหัวเรือรบ
ชื่อทางการ
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
ที่ตั้ง
อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่น ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
พื้นที่
1,890,754 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อย กว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ
-หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วย เกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี
-หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี      
  ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
-หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
-อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี
เมืองหลวง
จาการ์ตา (Jakarta)
ประชากร
ประมาณ 220 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม ซึ่งพูดภาษาต่างกันกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา 
ภาษา
ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia
ศาสนา
ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือ ศาสนาพุทธ 4
การแต่งกาย




เกบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาว ผ่าหน้า   กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติก ส่วนการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาวหรือเตลุก เบสคาพ (Teluk Beskap) ซึ่งเป็นการแต่งกายแบบผสมผสานระหว่างเสื้อคลุมสั้นแบบชวาและโสร่ง และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาด


ตราแผ่นดิน
ตราแผ่นดินของอินโดนีเซีย มีชื่อว่า "ตราพญาครุฑปัญจศีล" ลักษณะเป็นรูปพญาครุฑมีขนปีกข้างละ 17 ขน ,หาง 8 ขน, โคนหาง 19 ขน และคอ 45 ขน หมายถึง วันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ซึ่งเป็นวันประกาศเอกราช กลางตัวพญาครุฑนั้นมีรูปโล่ ภายในโล่แบ่งเป็นสี่ส่วน และมีโล่ขนาดเล็กช้อนทับอีกชั้นหนึ่ง ดังบรรยายต่อไปนี้
ช่องซ้ายบนของโล่บรรจุรูปหัวควายป่า (ในภาษาอินโดนีเซียเรียกว่า "บานเต็ง") ถือเป็นสัญลักษณ์ของประชาชน
ช่องขวาบนบรรจุรูปต้นไทร หมายถึงลัทธิชาตินิยม
ช่องซ้ายล่างบรรจุรูปดอกฝ้ายและช่อรวงข้าว ได้แก่ความยุติธรรมในสังคม
ช่องขวาล่างบรรจุสร้อยสีทองร้อยทรงสี่เหลี่ยมสลับทรงกลม คือหลักการของมนุษยธรรมและความผูกพันในสังคมมนุษย์ทื่ไม่มีจุดสิ้นสุด

พื้นโล่ของช่องซ้ายบนและขวาล่างนั้นมีสีแดง ส่วนช่องซ้ายล่างและขวาบนมีสีขาวโล่ขนาดเล็กที่อยู่กลางนั้นมีสีดำ บรรจุรูปดาวสีทอง หมายถึง ความเชื่อในพระเจ้าเบื้องล่างของตราที่เท้าของพญาครุฑนั้นจับแพรแถบสีขาว บรรจุคำขวัญประจำชาติซึ่งเขียนเป็นภาษาอินโดนีเซียอย่างเก่า ความว่า "
Bhinneka Tunggal lka" แปลได้ว่า "เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย"
อาหาร

อาหารอาเซียน เมนูเด็ดของ



กาโดกาโด (อินโดนีเซีย: gado gado) หรือ โลเต็ก เป็นอาหารยอดนิยมของประเทศอินโดนีเซีย ประกอบไปด้วยผัก ทั้งผักสด ผักต้ม และผักลวก และธัญพืชหลายชนิด ราดด้วยซอสที่ทำจากถั่ว[1] ทั้งแครอท มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว ขนุนอ่อน ผักกาดหอม นอกจากนี้ยังมีเต้าหู้ และไข่ต้มสุก และกินกับข้าวเกรียบทอดหลายชนิด เช่น กรูปุก ซึ่งเป็นข้าวเกรียบกุ้งหรือปลา เอิมปิง เป็นข้าวเกรียบใส่เมล็ดของผักเหมียง หรือจะกินกับเทมเป้ทอด หรือข้าวต้มแบบลนตงก็ได้ รับประทานกับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ ซึ่งประกอบด้วย กะปิ ถั่วลิสงบด กะทิ น้ำตาลโตนด พริกแดง กระเทียม กะทิ มะขามเปียก คำว่ากาโดนี้ ในภาษาอินโดนีเซียหมายถึงยำ








ดอกไม้


ดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย คือ ดอกกล้วยไม้ราตรี(Moon Orchid) ซึ่งเป็นหนึ่งในดอกกล้วยไม้ที่บานอยู่ได้นานที่สุด โดยช่อดอกนั้นสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นาน 2-6 เดือน โดยดอกจะบานแค่ปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ดอกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงพบเห็นได้ง่ายในพื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย
สกุลเงิน
รูเปียห์ (Rupiah : IDR) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 2.87 บาท / 1,000 รูเปียห์ (ขาย) 3.32 บาท / 1,000 รูเปียห์ (มกราคม 2552)
ระบอบการปกครอง
ประชาธิปไตย ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ประธานาธิบดี







คือ ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) (ตุลาคม 2547)











ข้อห้ามที่ไม่ควรปฏิบัติในอินโดนีเซีย
1. ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
2. นิยมใช้มือกินข้าว
3. ไม่ควรชี้นิ้วด้วยนิ้วชี้ แต่ใช้นิ้วโป้งแทน
4. ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
5. การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
6. บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ
7. มอเตอร์ไซค์รับจ้างต้องมีมิเตอร์
8. งานศพใส่ชุดสีอะไรก็ได้

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

Cambodia

Cambodia
ธงชาติกัมพูชา
มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วกลางนั้นเป็นพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลาง ริ้วที่อยู่ด้านนอกทั้งสองด้านนั้นกว้างริ้วละ 1 ส่วน พื้นสีน้ำเงิน หมายถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยพื้นสีแดงมีความหมายถึงชาติ ปราสาทนครวัดสีขาวหมายถึงสันติภาพและศาสนา ซึ่งเดิมมีรากเหง้าจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน ส่วนสีน้ำเงินนั้นหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งก็เหมือนกับธงชาติไทย ที่สีแดงคือชาติ สีขาวคือศาสนา และสีน้ำเงินคือพระมหากษัตริย์นั่นเอง
ชื่อทางการ
ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)                                                               
ที่ตั้ง
กัมพูชาตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว (แขวง อัตตะปือและจำปาสัก) ทิศตะวันออกติด เวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง และเกียงซาง) ทิศตะวันตกติดประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด) และทิศใต้ติดอ่าวไทย
พื้นที่
ขนาดกว้าง 500 กิโลเมตร ยาว 450 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย เส้นเขตแดนโดยรอบประเทศยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร โดยมีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทยยาว 798 กิโลเมตร                                                                  
เมืองหลวง
กรุงพนมเปญ (Phnom Penh)
ตราแผ่นดินของกัมพูชา
           

ตราแผ่นดินของกัมพูชาเป็นรูปฉลองพระองค์ครุยคลุมพานแว่นฟ้า อัญเชิญพระแสงขรรค์และเครื่องหมายอุณาโลมภายใต้พระมหามงกุฎเปล่งรัศมี มีลายช่อต่อออกมาจากกรรเจียกจรทั้งสองข้าง รูปดังกล่าวอยู่เหนือรูปดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งกัมพูชา (Royal Order of Cambodia) และมีรูปลายก้านขดอยู่ใต้รูปฉลองพระองค์ครุยอีกชั้นหนึ่ง ถัดมาทางด้านข้างทั้ง 2 ด้านขนาบด้วยรูปฉัตร 5 ชั้น ซึ่งประคองโดยคชสีห์ทางด้านซ้าย และราชสีห์ทางด้านขวา เบื้องล่างสุดของรูปทั้งหมดเป็นแพรแถบแสดงข้อความว่า "ព្រះចៅក្រុងកម្ពុជា" ("พระเจ้ากรุงกัมพูชา") ด้วยอักษรเขมรแบบอักษรมูล



ประชากร
14.1 ล้านคน (ปี 2548) ประกอบด้วย ชาวเขมรร้อยละ 94 ชาวจีนร้อยละ 4 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2 มีอัตราการเพิ่มของประชากรเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี                                                                                  
ภาษา
ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม จีน และไทย  
ศาสนา
ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท (แยกเป็น 2 นิกายย่อย คือ ธรรมยุตินิกายและมหานิกาย) และศาสนาอื่นๆ อาทิ ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์                                                        
สกุลเงิน
เงินเรียล (Riel : KHR) อัตราแลกเปลี่ยน 4,000 เรียลเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 100 เรียล เท่ากับ 1 บาท
การแต่งกาย
ชุดประจำชาติของกัมพูชาคือ ซัมปอต (Sampot) หรือผ้านุ่งกัมพูชา ทอด้วยมือ มีทั้งแบบหลวมและแบบพอดี คาดทับเสื้อบริเวณเอว ผ้าที่ใช้มักทำจากไหมหรือฝ้าย หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ซัมปอตสำหรับผู้หญิงมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย ทั้งนี้ ซัมปอดมีหลายแบบซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนชั้นทางสังคมของชาวกัมพูชา ถ้าใช้ในชีวิตประจำวันจะใช้วัสดุราคาไม่สูง ซึ่งจะส่งมาจากประเทศญี่ปุ่น นิยมทำลวดลายตามขวาง ถ้าเป็นชนิดหรูหราจะทอด้ายเงินและด้ายทอง                 
อาหาร
อาเซียน กัมพูชา

อาม็อก (Amok) อาหารยอดนิยมของกัมพูชา ลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย  โดยมากแล้วนิยมปรุงเนื้อปลาลวกด้วยพริกเครื่องแกงและกะทิ แล้วทำให้สุกโดยการนำไปนึ่ง บางตำรับอาจใช้เนื้อไก่หรือหอยแทน สาเหตุหนึ่งที่คนในประเทศนี้นิยมรับประทานปลา เพราะเป็นอาหารที่หาได้ง่าย เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง
                                                                                                 

ดอกไม้

กัมพูชามีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกลำดวน (Rumdul) ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็นแบบกรุ่น ๆ ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธ
ระบอบการปกครอง
ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
พระมหากษัตริย์
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี (His Majesty Preah Bat Samdech Preah Boromneath Norodom Sihamoni) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ วันที่ 14 ตุลาคม 2547                 
อาเซียน กัมพูชา













นายกรัฐมนตรี
สมเด็จฮุน เซน (Samdech Hun Sen)

อาเซียน กัมพูชา 














ข้อห้ามที่ไม่ควรกระทำของประเทศกัมพูชา
1. ผู้หญิงห้ามแต่งตัวเซ็กซี่, ผู้ชายไว้ผมยาวจะมีภาพลักษณ์ นักเลง
2. ห้ามจับศีรษะ คนกัมพูชาถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย
3. สบตามากเกินไป ถือว่าไม่ให้เกียรติ

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

Brunai






 Brunai 




 ชื่อทางการ 
เนการาบรูไนดารุสซาลาม(Negara Brunai Darussalam หมายถึง ดินแดนแห่งความสงบสุข)

 ที่ตั้ง 
ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ทิศตะวันออก ตะวันตกและทิศใต้ติดเขตซาราวัก
ประเทศมาเลเซีย โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้

 เมืองหลวง 
บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan) อยู่ในเขต Brunei-Muara

ตราแผ่นดินของบรูไน 
ใช้เครื่องหมายอย่างเดียวกับที่ปรากฏในธงชาติบรูไน เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2475ประกอบด้วยสัญลักษณ์ 5 อย่าง คือ ราชธวัช (ธง) พระกลด (ร่ม) ปีกนก 4 ขน มือสองข้าง และซีกวงเดือนหรือพระจันทร์เสี้ยว ภายในวงเดือนซึ่งหงายขึ้นนั้น มีข้อความภาษาอาหรับจารึกไว้ ซึ่งแปลความได้ว่า "น้อมรับใช้ตามแนวทางของพระอัลเลาะห์เสมอ" ("Always in service with God's guidance") เบื้องล่างสุดมีแพรแถบจารึกชื่อประเทศไว้ว่า บรูไนดารุสซาลาม  แปลว่า นครแห่งสันติ

 ภาษา 
ภาษามาเลย์ (Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ  ภาษาอังกฤษและภาษาจีนเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารแพร่หลาย

 ศาสนา 
ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาอิสลาม (67%)

 ดอกไม้ 
ดอกไม้ประจำชาติบรูไน ก็คือ ดอกซิมปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia) ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองอีกด้วย
1
 อาหาร อัมบูยัต(Ambuyat) มีลักษณะเด่นคือ เหนียวข้นคล้ายข้าวต้มหรือโจ๊ก ไม่มีรสชาติ มีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก

 การแต่งกาย 
สำหรับชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ส่วนของชุดผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรัง (Baja Kurung) คล้ายกับชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงหัวเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง

brunei
การทักทาย
การทักทายจะจับมือกันเบา ๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ การชี้นิ้วไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน และจะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชาย และไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง

 หน่วยเงินตรา 
ดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar) ประมาณ 23.98 บาท/ 1 ดอลลาร์บรูไน 

 ระบอบการปกครอง 
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัลโบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (His Majesty Sultan HajiHassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah) ทรงเป็นสมเด็จพระราชาฯ องค์ที่ 29 ทรงเป็นองค์พระประมุขของประเทศตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2510 ซึ่งในปีนี้ (2551) เป็นวาระเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ 62 ปี ของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนฯ

ข้อห้ามที่ไม่ควรกระทำของประเทศบรูไน
ข้อห้ามควรรู้ :
1. ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์                                                 
2. การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ                                                       
3. การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน                                       
4. จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น                                                                                            
5. สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง                                           
6. วันหยุดคือวันศุกร์และวันอาทิตย์, วันศุกร์ 12.00-14.00 น.ทุกร้านจะปิด                                       
7. จัดงานเย็นต้องจัดหลัง 2 ทุ่ม



วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

ASEAN


อาเซียนคืออะไร?

         
         สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อของ ASEAN จัดตั้งขึ้นโดยมีประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียน 5 ประเทศ ประกอบด้วย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และไทย  ต่อมาได้มีอีก 5 ประเทศเข้าร่วมอาเซียน ได้แก่ พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา และ บรูไน รวมเป็น 10 ประเทศ

  
          ประชาคมอาเซียน เปรียบเสมือนการเป็นครอบครัวเดียวกันของประเทศสมาชิก อาเซียนถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 มีการร่วมลงนามในปฏิญญาให้เป็นประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายใน พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) โดยมี 3 เสาหลักดังนี้
            ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community – APSC)
            ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community – AEC)
            ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Asean Socio-Cultural Community – ASCC)

 ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community – APSC) 

          1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community : APSC) มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ
               
               1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทุจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น
              
                2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกัน โดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
                
                3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ ในด้านการเมืองและความมั่นคง อาเซียนมีเป้าหมายสำคัญคือการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสร้างสถานะที่จะอำนวยต่อการสร้างประชาคมอาเซียน ให้สำเร็จภายในปี 2558 ซึ่งจะทำให้ประชาคมอาเซียนในด้านการเมืองความมั่นคงมีความแข็งแกร่งและน่าเชื่อถือ ความร่วมมือด้านการเมืองความมั่นคงของอาเซียนที่สำคัญ ได้แก่

          1.สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation หรือ TAC) สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดทำขึ้นโดยประเทศสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย เมื่อปี 2519 เพื่อกำหนดหลักการพื้นฐานของความร่วมมือ และการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกันของประเทศสมาชิกหลักการสำคัญของสนธิสัญญา ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนยึดถือและยอมรับในการปฏิบัติตาม ได้แก่
           1.1 เคารพในเอกราช การมีอำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียมกัน ความมั่นคงทางดินแดนและเอกลักษณ์แห่งชาติของทุกประเทศ
           1.2 ปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก การโค่นล้มอธิปไตย หรือการบีบบังคับจากภายนอก
           1.3 การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
           1.4 การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
           1.5 การยกเลิกการใช้การคุกคามและกองกำลัง
           1.6 การมีความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพระหว่างกัน

          2. สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty on the Southeast Asia Nuclear-Free Zone : SEAN-FZ) ประเทศสมาชิกอาเซียน ลงนามในการประชุมสนธิสัญญาในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15ธันวาคม 2538 วัตถุประสงค์หลักของสนธิสัญญา คือ ให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ โดยประเทศที่เป็นภาคีจะไม่พัฒนา ไม่ผลิต ไม่จัดซื้อ ไม่ครอบครอง รวมทั้งไม่เป็นฐานการผลิต ไม่ทดสอบ ไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาค และไม่ให้รัฐใดปล่อยหรือทิ้งวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นกัมมันภาพรังสีลงบนพื้นดิน ทะเลและอากาศ นอกจากนี้ 5 ประเทศอาวุธนิวเคลียร์ ได้แก่ จีนสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย และสหราชอาณาจักร (ห้าสมาชิกผู้แทนถาวร ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ) ได้ยอมรับและให้ความเคารพสนธิสัญญา โดยจะไม่ละเมิดและไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคนี้
          3. ปฏิญญากำหนดให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตแห่งสันติภาพ
เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Zone of Peace,Freedom and Neutrality หรือ ZOPFAN)
เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของอาเซียน ให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่ปลอดการแทรกแซงจากภายนอก เพื่อเป็นหลักประกันต่อสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาคและเสนอให้อาเซียนขยายความร่วมมือให้ครอบคลุมทุกๆ ด้าน อันจะนำมาซึ่งความแข็งแกร่ง ความเป็นปึกแผ่นและความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิก ได้ประกาศลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐสมาชิกอาเซียน ซึ่งในขณะนั้นประกอบด้วยประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 1971 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
          4. การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ ASEAN Regional Forum (ARF)
จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีสำหรับปรึกษาหารือ (Consultative forum) โดยมีวัตถุประสงค์ที่มุ่งส่งเสริมสันติภาพโดยการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ความร่วมมือ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศอาเซียนกับคู่เจรจา และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในเรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองและความมั่นคง โดยมีทั้งผู้แทนฝ่ายการทูตและการทหารเข้าร่วมการประชุมการหารือด้านการเมืองและความมั่นคงในกรอบ ARF ได้กำหนดพัฒนาการของกระบวนการ ARF เป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่
         ขั้นตอนที่ 1 ส่งเสริมการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน (Confidence Building)
         ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy)
         ขั้นตอนที่ 3 การแก้ไขความขัดแย้ง (Conflict Resolution)

การประชุมระดับรัฐมนตรี ARF ครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 ปัจจุบัน ประเทศที่เป็นสมาชิกการประชุมว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมี 27 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ คือ ไทย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ประเทศ ผู้สังเกตการณ์ของอาเซียน และประเทศอื่นในภูมิภาค อันได้แก่ ออสเตรเลีย บังคลาเทศ แคนาดา จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี(เกาหลีเหนือ) มองโกเลียนิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี รัสเซีย ติมอร์-เลสเต ศรีลังกา สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป
          5. ASEAN Troika ผู้ประสานงานเฉพาะกิจในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2542 ณ กรุงมะนิลา ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบ ในการจัดตั้งกลุ่มผู้ประสานงานเฉพาะกิจในระดับรัฐมนตรี (ASEAN Troika) ซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศที่ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการประจำของอาเซียนในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต และจะหมุนเวียนกันไปตามการเป็นประธานการประชุม วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มผู้ประสานงานเฉพาะกิจ ASEAN Trioka คือ
         5.1เป็นกลไกให้อาเซียนสามารถร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการหารือแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยไม่ก้าวก่ายกิจการภายในของประเทศสมาชิกเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนให้สูงขึ้น และเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานโดยรวม
         
         5.2 เพื่อรองรับสถานการณ์ และจะดำเนินการโดยสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติในสนธิสัญญา และข้อตกลงต่างๆ ของอาเซียน เช่น สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation หรือ TAC)
         6. กรอบความร่วมมือทางทหาร (ASEAN Defense Ministerial Meeting -ADMM)
เพื่อสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างฝ่ายทหารของประเทศสมาชิก ความร่วมมือ ด้านการป้องกันยาเสพติด การต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้าย โดยเฉพาะประเด็นหลังนี้อาเซียนได้ลงนามในอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย ในปี 2550
         7. ความสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการเมืองความมั่นคงที่สมดุลและสร้างสรรค์ระหว่างกัน โดยผ่านเวทีหารือระหว่างอาเซียนกับประเทศ คู่เจรจา ได้มีการประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออก (East Asia Summit – EAS) และกระบวนการอาเซียน+3          

 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN  Economic  Community : AEC)
           ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เกิดขึ้นมาจากการพัฒนาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) เนื่องจากสมาชิกอาเซียนเห็นว่า ปัจจุบันอาเซียนมีจำนวนประเทศ 10 ประเทศ ประชากรเกือบ 500 ล้านคน ดังนั้นถือว่าเป็นเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ จึงควรร่วมมือกัน เพื่อทำให้อาเซียนมีความเข้มแข็งในด้านต่าง ๆ มากขึ้น เหตุนี้เอง อาเซียนจึงกลายสภาพเป็น AEC ในที่สุด โดยจะก่อตั้งเออีซีอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2558 เลื่อนเข้ามาจากเดิมคือ พ.ศ. 2563
           อย่างไรก็ตาม อนาคตข้างหน้า AEC มีแนวโน้มที่จะขยายเป็น อาเซียน +3 คือ เพิ่มประเทศจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ก่อนที่จะเป็นอาเซียน +6 โดยเพิ่มประเทศจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย

           AEC หรือ ASEAN  Economic  Community ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับคู่ค้า และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระดับโลก รวมถึงมีการยกเว้นภาษีสินค้าบางชนิดให้กับประเทศสมาชิก ส่งเสริมให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง มั่นคง ประชาชนอยู่ดีกินดี 
          โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียน  ASEAN  Summit ครั้งที่  8  เมื่อ  4  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2545  ณ  กรุงพนมเปญ  ประเทศกัมพูชา ที่ได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทาง ได้มีการดำเนินงานที่แน่ชัดเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจน  ได้แก่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  โดยจะมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน  และจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า  บริการ  การลงทุน  เงินทุน  และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรีสำหรับการตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้กำหนดให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558  ( ค.ศ. 2015)
 เป้าหมายสำคัญของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC  มี  4  ด้าน  คือ                                              1. เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน  (Single Market and Production Base)   
            เพื่อเคลื่อนย้ายสินค้า  บริการ  การลงทุน  แรงงานที่มีฝีมือ  และเงินทุนอย่างเสรี
            เป็นการดำเนินตามพันธกรณีที่ได้ตกลงและดำเนินการมากันอยู่แล้ว ได้แก่
          * AFTA (ASEAN Free Trade Area)  เริ่มปี  2535 (1992)
          * AFAS (ASEAN Framework Agreement on  Services)  กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ ลงนามปี  2538  (1995)  ได้เจรจาไปแล้ว  5  รอบ
          * AIA  (ASEAN Investment Area)  กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ  ลงนามและมีผลตั้งแต่ 2541  (1998)
          2. สร้างขีดความสามามารถทางเศรษฐกิจ (High Competitive Economic Region)
            ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านนโยบายที่ช่วยการรวมกลุ่ม  เช่น นโยบายการแข่งขัน นโยบายภาษี , ทรัพย์สินทางปัญญา, พัฒนาโครงการสร้างพื้นฐาน
            ร่วมกันดำเนินการโดยแลกเปลี่ยนข้อมูล  ฝึกอบรมบุคคลากรร่วมกัน
          3. สร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Equitable Economic Development)
            สนับสนุนการพัฒนา SMES
            สร้างขีดความสามารถผ่านโครงการที่มีอยู่แล้ว
          4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก (Fully  Integrated  into  Global Economy)
            เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจอาเซียนกับนอกภูมิภาค เช่น  ทำ  FTA

 การรวมกลุ่มสินค้าและบริการ 11 สาขานำร่อง
          การรวมกลุ่มสินค้าและบริการ 11 สาขานำร่อง ถือว่าเป็นการเปิดเสรีด้านการค้าและบริการ เพื่อส่งเสริมการแบ่งงานกันผลิตสินค้าและบริการภายในอาเซียนด้วยกัน โดยจะเน้นใช้วัตถุดิบภายในอาเซียนเป็นหลัก ตามความถนัด เนื่องจากแต่ละประเทศมีวัตถุดิบที่ไม่เหมือนกัน ถ้าจะให้ผลิตทุกอย่าง จะเป็นการเพิ่มต้นทุนสินค้าแบบเสียเปล่า

 สำหรับ 11 สาขานำร่องมีดังนี้

          1. สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร
          2. สาขาประมง
          3. สาขาผลิตภัณฑ์ยาง
          4. สาขาสิ่งทอ
          5. สาขายานยนต์
          6. สาขาผลิตภัณฑ์ไม้
          7. สาขาอิเล็กทรอนิกส์
          8. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
          9. สาขาสุขภาพ
          10. สาขาท่องเที่ยว
          11. สาขาการบิน

          อย่างไรก็ตาม ภายหลังได้เพิ่มสาขาที่ 12 ได้แก่ สาขาโลจิสติกส์ เพื่อทำให้การขนส่งวัตถุดิบต่าง ๆ ทำได้สะดวกมากขึ้น

 เมื่อแบ่งทั้ง 12 สาขา ตามประเทศที่รับผิดชอบ สามารถแบ่งได้ ดังนี้

          1. พม่า สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร และสาขาประมง
          2. มาเลเซีย สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
          3. อินโดนีเซีย สาขายานยนต์ และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
          4. ฟิลิปปินส์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์
          5. สิงคโปร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
          6. ไทย สาขาการท่องเที่ยวและสาขาการบิน
          7. เวียดนาม สาขาโลจิสติกส์


 ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC 
          1. ขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้าจากการยกเลิกอุปสรรคภาษี และที่มิใช่ภาษีจะเปิดโอกาสให้สามารถเคลื่อนย้ายสินค้าได้อย่างเสรี
          2. คาดว่าการส่งออกไทยไปอาเซียนจะสามารถขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 18 - 20%  ต่อปี
          3. เปิดโอกาสการค้าบริการในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง  เช่น  ท่องเที่ยว  โรงแรมและร้านอาหาร  สุขภาพ  ทำให้ไทยมีรายได้จากการค้าบริการไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น
          4. สร้างเสริมโอกาสการลงทุน เมื่อมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้เสรียิ่งขึ้น  อุปสรรคการลงทุนระหว่างอาเซียน จะลดลง อาเซียนจะเป็นเขตการลงทุนที่น่าสนใจทัดเทียมจีนและอินเดีย
          5. เพิ่มพูนขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย เมื่อมีการใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน/เป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับอาเซียนอื่น ทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงแข่งขัน (Comparative Advantage)  และลดต้นทุนการผลิต
          6. เพิ่มอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีการค้าโลก  สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาคมโลก
          7. ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ  ผลการศึกษา   แสดงว่า AEC  จะทำให้รายได้ที่แท้จริงของอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3  หรือคิดเป็นมูลค่า 69  พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

 ผลกระทบของประเทศไทยจากการเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC
          1. การเปิดตลาดเสรีการค้าและบริการย่อมจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและผู้ประกอบการในประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำ
          2. อุตสาหกรรมและผู้ประกอบการในประเทศต้องเร่งปรับตัว

 ข้อเสนอแนะในการเตรียมตัวของไทยสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC
          แนวทางที่ประเทศไทยควรเตรียมพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากมีการรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC คือ ภาครัฐเองไม่ได้นิ่งนอนใจต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น  โดยเฉพาะกิจการ/อุตสาหกรรมที่ไม่มีความ  พร้อมในการแข่งขัน  โดยแผนงานรองรับผลกระทบที่ได้มีการดำเนินงานมาแล้ว  ได้แก่
      1. การจัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการ  ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี ทางการค้า (ตามมติคณะรัฐมนตรี  เมื่อวันที่  8  พฤษภาคม  2550)  เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ผลิต และผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูป  สินค้าอุตสาหกรรม  และบริการ  ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าให้สามารถปรับตัวหรือปรับเปลี่ยนให้สามารถแข่งขันได้
      2. มาตรการป้องกันผลกระทบ  ก่อนหน้านี้  กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอจัดทำกฎหมายซึ่งได้ผ่านสภานิติบัญญัติออกมาเป็น  พรบ.  มาตรการปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard  Measure)  ซึ่งหากการดำเนินการตาม AEC  Blueprint  ก่อให้เกิดผลกระทบก็สามารถนำกฎหมายนี้มาใช้ได้
     3. การจัดตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการตามแผนงานไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  (ตามคำสั่ง กนศ. ที่ 1/2550  ลงวันที่  14  มิถุนายน  2550)  เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนงานและเตรียมการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในการดำเนินงานไปสู่การเป็น AEC โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน


ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Asean Socio-Cultural Community – ASCC)
    ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน  มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  อยู่ร่วมกันในสังคมที่เอื้ออาทร ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน และมีความมั่นคงทางสังคม (social security) โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ อาทิ
    (1) การพัฒนาสังคม โดยการ ยกระดับความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาส และผู้ที่อาศัยในถิ่นทุระกันดาร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่าง แข็งขันของกลุ่มต่างๆ ในสังคม 
    (2) การพัฒนาการฝึกอบรม การศึกษาระดับพื้นฐานและสูงกว่าการพัฒนา ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างงาน และการคุ้มครองทางสังคม
    (3) การส่งเสริมความร่วมมือใน ด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เช่นโรคเอดส์ และ โรคทางเดินหายใจ เฉียบพลันรุนแรง
    (4) การจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
    (5) การส่งเสริม การปฏิสัมพันธ์ ระหว่างนักเขียน นักคิดและศิลปินในภูมิภาค
        แผนปฏิบัติการของประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน เน้นการดำเนินการใน 4 ประเด็นหลัก คือ
        (1) สร้างประชาคมแห่งสังคมที่เอื้ออาทร  โดยเน้นการแก้ไขปัญหาความยากจน เสริมสร้างความเสมอภาค และการพัฒนามนุษย์  อาทิ การพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน การส่งเสริม สวัสดิการสังคม การพัฒนาชนบทและ ขจัด ความยากจน การพัฒนาการศึกษา และสาธารณสุข และการเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์  (human security) ในด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึงการปราบปรามอาชญากรรม ข้ามชาติและการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ
        (2) แก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ โดยสร้างฐานทรัพยากรมนุษย์ที่สามารถแข่งขัน ได้ดีและ มีระบบการป้องกันทางสังคมที่เพียงพอ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาและส่งเสริมแรงงาน และเสริมสร้าง ความร่วมมือ ในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สวัสดิการสังคม  วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี และ สาธารณสุข (ปัญหาที่มา กับโลกาภิวัต เช่น โรคระบาด โรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ)
         (3) ส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง โดยมีกลไกที่พัฒนาอย่างสมบูรณ์ ์สำหรับจัดการและดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ตลอดจนการป้องกันและขจัดภัยพิบัติด้าน สิ่งแวดล้อม
         (4) เสริมสร้างรากฐานที่จะนำไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ.2020 ซึ่งจะเป็นภูมิภาคที่ประชาชนตระหนักถึงอัตลักษณ์ (identity) ร่วมกันของภูมิภาคท่ามกลางความ หลากหลายทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ด้วยการส่งเสริม ความเข้าใจระหว่างประชาชนในระดับและวงการต่างๆ การเรียนรู้ ประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรมของ กันและกัน และ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของกันและกัน (การส่งเสริมด้านวัฒนธรรมและสนเทศ)
 ในการมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรม  อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) โดยจัดประชุมเพื่อยกร่างแผนงาน 4 ครั้ง (ไทยเป็นเจ้าภาพจัดครั้งที่ 1 และ 3 ระหว่างวันที่ 11-13 มีนาคม และระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม, ลาว ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 28-29 เมษายน และฟิลิปปินส์ ครั้งที่ 4 โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ได้ให้การรับรองแผนงานฯ
            
 แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)    ประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่ 1. การพัฒนามนุษย์ (Human Development) 2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection) 3. สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights) 4. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) 5. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building an ASEAN Identity) 6. การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap) องค์ประกอบย่อยของแต่ละด้านมีดังนี้
 A.  การพัฒนามนุษย์
       A1.  ให้ความสำคัญกับการศึกษา
       A2.  การลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
       A3.  ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม
       A4.  ส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ
       A5.  การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงประยุกต์
       A6.  เสริมสร้างทักษะในการประกอบการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
       A7.  พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ
 B.  การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
       B1.  การขจัดความยากจน
       B2.  เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมและความคุ้มกันจากผลกระทบด้านลบจากการรวมตัวอาเซียนและโลกาภิวัฒน์
       B3.  ส่งเสริมความมั่นคง และความปลอดภัยด้านอาหาร
       B4.  การเข้าถึงการดูแลสุขภาพและส่งเสริมการดำรงชีวิตที่มีสุขภาพ
       B5.  การเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ
       B6.  รับประกันอาเซียนที่ปลอดยาเสพติด
       B7.  การสร้างรัฐที่พร้อมรับกับภัยพิบัติและประชาคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
 C.  ความยุติธรรมและสิทธิ
       C1.  การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
       C1.  การคุ้มครองและส่งเสริมแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน
       C1.  ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ
 D.  ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
       D1.  การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก
       D2.  การจัดการและการป้องกันปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมข้ามแดน
       D3.  ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชน
       D4.  ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม (อีเอสที)
       D5.  ส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานการดำรงชีวิตในเขตเมืองต่างๆ ของอาเซียน และเขตเมือง
       D6.  การทำการประสานกันเรื่องนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและฐานข้อมูล
       D7.  ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรชายฝั่ง และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน
       D8.  ส่งเสริมการจัดการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
       D9.  ส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรน้ำจืด
       D10.  การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการต่อผลกระทบ
       D11.  ส่งเสริมการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน
 E.  การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
       E1.  ส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียน และความรู้สึกของการเป็นประชาคม
       E2.  การส่งเสริมและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน
       E3.  ส่งเสริมการสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมและอุตสาหกรรม
       E4.  การมีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน
 F.  การลดช่องว่างทางการพัฒนา